วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558

8 วิธีตรวจเช็คก่อนตัดสินใจเปลี่ยนหลังคาใหม่


        เป็นเรื่องธรรมดาที่วัสดุต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการสร้างบ้านล้วนเสื่อมสภาพไปตามเวลา ของบางอย่างสามารถยื้อเวลาการซ่อมออกไป แต่ของบางอย่างควรรีบซ่อมแซมตั้งแต่เนิ่น เพื่อไม่ให้ความเสียหายลุกลามไปมากกว่านี้ โดยเฉพาะหลังคาส่วนบนสุดของบ้าน ที่คอยปกป้องสมาชิกภายในบ้านจากแสงแดด ลม และฝน ทั้งนี้ ด้วยความสูงของมันอาจทำให้หลาย ๆ คนไม่ได้สังเกตความผิดปกติบนหลังคา หรืออาจจะยังไม่ทราบว่าควรเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาเมื่อไหร่ ในวันนี้เรามีคำตอบเหล่านี้มาฝากกัน

          วัสดุสำหรับหลังคาบ้านแตกต่างออกไปหลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น หลังคาไม้ซีดาร์ กระเบื้อง คอนกรีต เมทัลชีต หรืออื่น ๆ แต่ละแบบมีระยะอายุการใช้งานไม่เหมือนกัน ถ้าหากเป็นหลังคาไม้ไม่ว่าจะเป็นไม้อะไรก็ตาม มีระยะการใช้งานสูงสุดประมาณ 20 ปี หลังคาประเภทนี้อาจต้องดูแลกันเป็นพิเศษ และอาจต้องเปลี่ยนหรือซ่อมแซมกันค่อนข้างบ่อย

          หากเป็นหลังคาแบบกระเบื้องจะมีอายุการใช้งานค่อนข้างนาน แต่อาจต้องหมั่นตรวจสอบรอยแตกร้าวกันสักหน่อย สำหรับ คนที่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลบ้านอาจใช้หลังคาแบบเมทัลชีทหรือคอนกรีต เพราะไม่จำเป็นต้องดูแลรักษามาก และมีอายุการใช้งานนานกว่าสองแบบแรก ทีนี้เราลองมาดูกันว่าปัจจัยที่ทำให้คุณควรเปลี่ยนหลังคา มีอะไรบ้าง

           1. เมื่อพบว่าท้องหลังคาภายในบ้านของคุณมีรอยบุ๋ม หรือท้องหลังคาหย่อนคล้อยลงมา เพราะโดยปกติแล้วท้องหลังคาควรเรียบเสมอกันทั้งหมด

           2. ในกรณีที่พบว่าหลังคามีรอยน้ำรั่ว หรือมีรูเล็ก ๆ ที่แสงสามารถส่องผ่านลงมายังภายในบ้านของคุณได้ 

           3. มีรอยจุดด่างดำ รอยเปื้อน หรือสีผิดปกติไปจากสีเดิมของวัสดุ

           4. พบเห็นรอยแตกร้าว มีรอยเลื่อนบนหลังคา หรือมีชิ้นส่วนในการประกอบหลังคาหายไป

           5. พบชิ้นส่วนที่ใช้ในการประกอบหลังคาตกหล่น อยู่ในท่อน้ำ ช่องลม หรือบริเวณอื่น ๆ ของบ้าน

           6. มีเศษซากของหลังคาบางส่วนตกหล่นลงมา หรือมีบางส่วนของหลังคาหลุดลอกออกมา

           7. หมั่นสังเกตรอยด่างดำ เศษซากสกปรกต่าง ๆ เพราะนั่นแสดงว่าหลังคาของคุณเกิดรอยรั่วที่ทำให้น้ำสามารถแทรกซึมเข้าไปได้ สิ่งที่มากับน้ำนอกจากความชื้นแล้วคือ เชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัสต่าง ๆ ที่สามารถก่อตัวได้ภายใน 24 - 48 ชั่วโมงเท่านั้น

           8. ตรวจสอบระบบการระบายน้ำของหลังคา ว่าทางระบายน้ำอยู่สภาพปกติหรือไม่ เพราะเศษซากแตกหักของทางระบายน้ำ อาจทำให้หลังคาเกิดรอยแตกหัก หรือรอยรั่วได้

          นอกจากนี้หากหลังคาบ้านของคุณมีอายุการใช้งานนานกว่า 15 - 20 ปีแล้ว ให้เปลี่ยนหลังคาใหม่ได้เลยทันที เพราะหลังคาอาจเก่าเกินกำลังที่ซ่อมแซมได้แล้ว ทั้งนี้การเปลี่ยนหลังคา ใหม่นอกจากจะช่วยให้บ้านของคุณดูดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการปกป้องบ้านของคุณจากสภาพอากาศต่าง ๆ ได้ด้วย หลังจากทราบวิธีตรวจเช็กหลังคาแล้ว อย่าลืมไปสังเกตหลังคาบ้านของคุณกันด้วยนะคะ



http://home.kapook.com/view54350.html
เครดิตภาพ  http://pt-wfd.eu/knowing-roof.shtml

วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ตู้เย็นไม่เย็น ทำไงดี วิธีแก้ปัญหาตู้เย็นไม่เย็น


          ตู้เย็นเป็นเครื่องครัวที่มี ความสำคัญมากถึงมากที่สุด เพราะช่วยรักษาความเย็น และยืดอายุอาหารให้อยู่ได้นานขึ้น แต่หากวันหนึ่งเริ่มรู้สึกว่าตู้เย็นไม่เย็นขึ้นมาเมื่อไร เราก็คงเริ่มร้อนใจตามไปด้วย แช่อะไรไว้ในตู้เย็นได้ไม่นานก็คงพากันบูดซะหมดแน่ แถมเครื่องดื่มที่แช่ไว้ก็ไม่เย็นชื่นใจอย่างที่ควร ดังนั้นถ้าใครอยากรู้ว่า ตู้เย็นไม่เย็นเกิดจากอะไร, ตู้เย็นไม่เย็น ทำไงดี วันนี้เรามีวิธีแก้ปัญหาตู้เย็นไม่เย็น มาฝากกันค่ะ


 เคลียร์ตู้เย็นให้โล่ง

           ขั้นแรกลองเปิดตู้เย็นสำรวจดูสิว่ามีของอะไรอัดกันแน่นอยู่ในนั้นบ้าง เพราะข้าวของที่เต็มตู้จนจะทะลักออกมานี่ล่ะค่ะ เป็นปัญหาอันดับต้น ๆ ที่ทำให้ตู้เย็นไม่เย็นเอาซะเลย หนำซ้ำยังจะทำให้ตู้เย็นทำงานหนักขึ้น เปลืองไฟโดยใช่เหตุอีกต่างหาก รู้อย่างนี้แล้วก็อย่ารอช้า รีบเคลียร์ของในตู้เย็นให้โล่งขึ้นดีกว่า อะไรที่ใกล้เสีย หรือไม่จำเป็นก็เอาออกไปให้หมด ตู้เย็นจะได้กลับมาเป็นปกติ

 ละลายน้ำแข็ง

           ยอมรับมาซะดี ๆ เถอะค่ะ ว่าคุณไม่ค่อยได้ใส่ใจตู้เย็นจนปล่อยให้ในช่องทำน้ำแข็งมีก้อนน้ำแข็งหนา เตอะใช่หรือเปล่า และนั่นเป็นสาเหตุให้ตู้เย็นทำงานได้ไม่สะดวก จนเกิดไม่เย็นขึ้นมาซะดื้อ ๆ เมื่อรู้แล้วว่าสาเหตุตู้เย็นไม่เย็นอาจเกิดจากก้อนน้ำแข็ง คงจะดีกว่าถ้าจะกดละลายน้ำแข็งบ้าง เพื่อลดภาระให้ตู้เย็นไม่ต้องทำงานหนักเท่าที่ควร ประหยัดทั้งไฟ และทำให้ตู้เย็นทำความเย็นได้ดีขึ้นด้วย

 ปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม

           ถ้ารู้สึกว่าทำไม ตู้เย็นไม่เย็น ทั้ง ๆ ที่ก็เคลียร์ของและลายน้ำแข็งเรียบร้อยแล้ว ก็ลองเช็กที่ตัวปรับอุณหภูมิในตู้เย็นดู เพระไม่แน่ว่าบางทีเราอาจจะเผลอเอามือไปปัดโดนตอนควานหาของในตู้เย็นก็เป็น ได้ แนะนำให้ปรับระดับความเย็นให้อยู่ในช่วงกึ่งกลางของระดับที่ตู้เย็นมีให้ บางครั้งเราอาจจะมองข้ามเรื่องนี้ไปก็ได้นะ

 เปลี่ยนยางขอบประตูตู้เย็น

           ถ้าทุกสาเหตุที่ว่ามายังไม่ใช่คำตอบของปัญหาตู้เย็นไม่เย็น ทีนี้คงต้องมาสังเกตขอบประตูตู้เย็นกันแล้วล่ะ ว่ายังมีสภาพการใช้งานได้ตามปกติหรือเปล่า หรือเริ่มเสื่อมและปิดไม่ค่อยแน่น ซึ่งหากพบว่ายางขอบประตูตู้เย็นเสื่อม ก็ต้องรีบซื้อมาเปลี่ยนโดยด่วนเลยค่ะ ซึ่งก็สามารถหาซื้อยางอันใหม่มาเปลี่ยนเองได้ง่าย ๆ ราคาก็ประมาณ 400 บาทเท่านั้น

 เปลี่ยนพัดลมระบายอากาศ

           ตัวการหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาตู้เย็นไม่เย็น ก็คือพัดลมระบายอากาศ ที่เป็นตัวระบายความร้อน และส่งความเย็นให้กระจายไปรอบ ๆ ตู้เย็น ซึ่งถ้าหากขัดข้องก็จะทำให้ตู้เย็นทำงานได้ไม่เป็นปกติ ทำให้ตู้เย็นไม่เย็นได้ ดังนั้นถ้าหากสงสัย ให้คุณลองทดสอบพัดลมระบายอากาศของตู้เย็นที่อยู่ด้านหลังช่องแช่แข็ง ด้วยการกดละลายน้ำแข็งก่อน เพื่อกำจัดน้ำแข็งที่เกาะอยู่ที่ใบพัด แต่ถ้าละลายน้ำแข็งแล้วใบพัดยังไม่หมุน ก็คงต้องหาพัดลมระบายอากาศมาเปลี่ยนแล้วล่ะ อย่าลืมดูรุ่นของพัดลมให้ถูกต้องด้วย เมื่อได้มาแล้วก็จัดการเปลี่ยนได้เลยค่ะ โดยถอดปลั๊กตู้เย็นออก หรือสับสวิตช์ไฟได้ยิ่งดี แล้วถอดพัดลมอันเก่าออก จากนำพัดลมอันใหม่มาใส่แทน เสร็จแล้วก็เสียบปลั๊กตู้เย็นดูสิว่าทำงานปกติหรือไม่

 ตั้งตู้เย็นบนพื้นเรียบเสมอกัน

           การตั้งตู้เย็นบนพื้นที่ไม่เสมอกันดูเหมือนจะเป็นปัญหาเล็กน้อย แต่เชื่อไหมคะว่าสามารถเป็นสาเหตุตู้เย็นไม่เย็นได้เช่นกัน เนื่องจากหากตู้เย็นวางบนพื้นที่ไม่เรียบ ประตูตู้เย็นก็มีโอกาสจะปิดไม่สนิทจนทำให้ความเย็นระเหยออกมาจนตู้เย็นไม่ เย็นได้ ดังนั้นลองสำรวจพื้นด้านล่างดูสักหน่อยก็ดี ว่าตู้เย็นตั้งอยู่บนพื้นที่เรียบเสมอกันอยู่หรือเปล่า ถ้าตู้เย็นเอียง จะได้ขยับหรือปรับไปวางในที่ที่เหมาะสมได้ทัน

 เรียกช่างดีกว่า

           หากปัจจัยแวดล้อมที่กล่าวมาทั้งหมดก็ยังไม่ใช่ และไม่สามารถหาสาเหตุได้ว่าตู้เย็นไม่เย็นเพราะอะไรกันแน่ คราวนี้คงต้องลงลึกไปถึงกลไกเครื่องยนต์ของตู้เย็นกันแล้วล่ะ หากพบว่ามีความผิดปกติ เช่น คอมเพรสเซอร์ที่อยู่ในกล่องกลม ๆ ด้านล่างของตู้เย็นส่งเสียงดัง พัดลมระบายอากาศด้านหลังตู้เย็นมีเสียงแปลก ๆ หรือการทำงานของตู้เย็นดังผิดปกติ ให้รีบเรียกช่างมาดูอาการ เพราะอาจมีชิ้นส่วนใดในตู้เย็นชำรุด จนตู้เย็นไม่สามารถทำความเย็นได้เป็นปกตินั่นเอง ส่วนค่าซ่อมตู้เย็นไม่เย็นก็ขึ้นอยู่กับว่าอะไหล่ชิ้นไหนชำรุด ทางที่ดีลองสอบถามจากช่างก่อนตัดสินใจใช้บริการดีกว่านะคะ

           ถ้าตู้เย็นของคุณมีปัญหา ก็ลองสำรวจความเสียหายตามที่กล่าวมาทั้งหมดดูก่อน หากพบว่ามีอาการตรงกับข้อไหน จะได้รีบจัดการแก้ปัญหาให้ตู้เย็นกลับมาทำความเย็นได้เหมือนเดิม แต่ถ้าแก้ไม่ได้จริง ๆ สงสัยคงต้องใช้ข้อสุดท้าย พึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเลยดีกว่า


http://home.kapook.com/view63001.html


วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วิธีแก้ปัญหาน้ำรั่วบนเพดาน ป้องกันเชื้อราช่วงหน้าฝน


           หน้าฝนทุกปีต้องมีผวาและต้องคอย ลุ้นว่าน้ำฝนจะรั่วมาจากตรงไหนบ้าง เอาเป็นว่าถ้าอยากนอนสบาย ๆ เรามาลงมือซ่อมเพดานกันเถอะ ก่อนที่น้ำจะท่วมทั้งในและนอกบ้าน

           ใครล่ะจะไม่ชอบอยู่บ้านอากาศเย็น ๆ สบาย ๆ ตอนฝนตก แต่เจ้าน้ำที่หยดติ๋ง ๆ ลงมาจากรูรั่วบนเพดานนี่สิ ที่ทำให้หลายคนอารมณ์เสียจนแทบไม่อยากให้ถึงหน้าฝนเลยจริง ๆ เพราะนอกจากจะต้องวิ่งวุ่นหากระบะมารองน้ำ ไหนจะต้องเอาผ้ามาเช็ดแอ่งน้ำย่อม ๆ กลางบ้านแล้วเนี่ย ก็ต้องมาลุ้นต่ออีกว่าจะเกิดจุดด่างดำของเชื้อราบนฝ้าเพดานหรือเปล่า หากไม่อยากให้ปัญหาเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก รีบลงมือซ่อมรอยรั่วเหล่านั้นกันเถอะพวกเรา ! 

1. รีบย้ายสิ่งของโดยพลัน

          เคลื่อนย้ายสิ่งของออกจากบริเวณที่มีน้ำหยด เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหาย หากเป็นของหนักไม่สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย เช่น โซฟา ตู้เก็บของ หรือชั้นวางของ ให้คลุมทับด้วยพลาสติกผืนใหญ่เอาไว้ ก่อนที่ความชื้นจะพาเชื้อราเข้ามา และทำให้เฟอร์นิเจอร์สวย ๆ ของคุณผุพัง

2. ออกสำรวจรูเจ้าปัญหา

          หลังจากนั้นก็มองหารอยรั่ว โดยสังเกตจากจุดแสงเล็ก ๆ บนพื้นตอนแดดออก ซึ่งวิธีนี้จะทำให้คุณรู้ตำแหน่งที่ชัดเจนมากกว่าดูจากตำแหน่งน้ำหยด เพราะจุดที่น้ำฝนหยดลงมา อาจเป็นน้ำที่แทรกซึมมาตามรอยแตกบนผนังก็ได้

3. เช็ครอยรั่วภายใน

          ที่จำเป็นจะต้องควรตรวจสอบรอยรั่วในบ้านซ้ำอีกครั้ง ก็เพื่อเช็คให้มั่นใจว่ารอยน้ำเหล่าไม่ได้เกิดจากการอาบน้ำ ล้างมือ หรือทำธุระส่วนตัวอื่น ๆ รวมไปถึงรอยรั่วบนท่อประปาภายในบ้าน และจะได้แก้ปัญหาให้ถูกจุดยังไงล่ะ 

4. โทรเรียกช่าง

          หากเจอปัญหาหลังการตรวจสอบ ควรจะโทรศัพท์เรียกช่างสักนิด ให้เข้ามาแก้ไขและอธิบายว่าพวกเขาต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งบางครั้งก็อาจจำเป็นจะต้องถอดหลังคาบางส่วนออก เพื่อหาต้นตอของรอยรั่วด้วย

5. ลงมือซ่อมทันที

          หากตอนนี้รู้แล้วว่ารอยรั่วอยู่ตรงไหน ควรจะลงมือซ่อมแซมทันที อย่าปล่อยปัญหาไว้นานไม่อย่างนั้นรอยรั่วเล็ก ๆ อาจเกิดปัญหาใหญ่ เช่น กลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค เชื้อรา หรือเหล่าสัตว์น้อยใหญ่ที่ชอบอาศัยอยู่ตามมุมชื้นแฉะ

6. เปลี่ยนรางน้ำ

          แต่หากเป็นเพราะรางน้ำตะเข้ผุกร่อน ควรเปลี่ยนรางน้ำใหม่ที่มีปีกกว้างและลึกมากกว่าเดิมก็ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรองรับน้ำ ถ้าเกิดจากแผ่นกระเบื้องให้อุดรอยรั่วเหล่านั้นด้วยวัสดุยาแนวที่มีความ ยืดหยุ่นสูง หรือกาวซีเมนต์ แต่ถ้าหากร้อยร้าวค่อนข้างมากควรเปลี่ยนแผ่นใหม่ทันที สำหรับในส่วนของอุปกรณ์ยึดหลังคา อย่างเช่น ตะปู ตะขอ หรือแหวนยางสามารถแก้ปัญหาได้ โดยการนำซิลิโคนอุดรอยรั่วเอาไว้ แต่หากน้ำฝนรั่วบริเวณปูนปั้นให้ปิดรอยแตกด้วยแผ่นปิดรอยต่อที่มีส่วนผสมของ ยางมะตอยเสริมใยเหล็ก และกาวปิด คราวนี้ปัญหาที่เคยกวนใจก็หายไปแล้วล่ะ

           เรื่องเพดานรั่วคงเป็นปัญหากวนใจใครหลายคนมานาน โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนแบบนี้ เพราะแทนที่จะได้นอนพักผ่อนอย่างสบายใจ กลับต้องคอยระวังเรื่องน้ำรั่ว ดีไม่ดีอาจจะทำให้บ้านและของใช้เสียหายอีกด้วย รู้แบบนี้รีบลงมือซ่อมแซมตั้งแต่ตอนนี้เลยดีกว่า เพราะไม่เพียงแต่จะนอนหลับโดยไม่ต้องกังวลแล้ว ยังไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องนำไปใช้ซ่อมแซมบ้านอีกด้วยนะคะ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก ehow.com
http://home.kapook.com/view123173.html